• ลิงได้แก้ว

    ที่มาของสำนวน  โบราณท่านเปรียบ “วานร” หรือ “ลิง” กับคนที่ไม่รู้ค่าของสิ่งของที่ได้มาหรือสูงค่าควรแก่การถนอมรักษาขนาดไหน การ “ยื่นแก้วให้วานร” จึงเท่ากับให้ไปเสียเปล่า ไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะคนที่ได้รับไม่รู้ค่าของสิ่งนั้น สิ่งที่มีคุณค่า ถ้าตกไปอยู่ในครอบครองของผู้ไม่รู้ค่าก็ไม่ผิดอะไรกับ “วานรได้แก้ว” ดังที่ขุนแผนรำพันด้วยความเสียใจ และเสียดายอย่างสุดซึ้งที่เมียรักต้องกลายเป็นเมียของขุนช้าง
                      โอ้เจ้าวันทองของพี่เอ๋ย       ไม่เห็นเลยว่าจะเป็นเช่นนี้ได้
                 เสียยศเสียศักดิ์สักเท่าไร          ดัง “ดั่งแก้วไปได้กับวานร”  
                ในความคิดของขุนแผน นางวันทองคือ “แก้วงามล้ำค่า” ส่วนขุนช้างคือ “ลิง” “ลิงไม่รู้คุณค่าของ “แก้ว” ฉันใด “ขุนช้าง” ก็ไม่รู้คุณค่าของ “นางวันทองฉันนั้น 
    ความหมายของสำนวน  ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่

    ตัวอย่างของสำนวน  สุชาติเป็นคนหัวโบราณไม่ค่อยเข้าใจหรือใช้โทรศัพท์ วันหนึ่งบุญมีลูกของสุชาติซึ่งทำงานอยู่ต่างประเทศซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่สุดให้สุชาติซึ่งมีปุ่มกดแค่สองปุ่มและเป็นภาษาอังกฤษหมดสามารถใช้โทรแบบเห็นหน้ากันได้ แต่บุญมีมิได้สอนการใช้งานโทรศัพท์ดังกล่าวให้สุชาติ การกระทำเช่นนี้ก็เหมือนกับลิงได้แก้ว
  • You might also like

    No comments:

    Post a Comment