• น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง

    ที่มาของสำนวน ในอดีตบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยช่วงปลายฤดูฝนต่อถึงฤดูหนาว (ปลายฝน ต้นหนาว) จะมีน้ำหลากจากภาคเหนือมาท่วมท้องทุ่งนาเป็นปกติทุกปี น้ำจะท่วมอยู่นาน 3-4 เดือน ก็ค่อยๆแห้งลงไป ช่วงนี้เองตรงกับตอนแรกของสำนวนที่ว่า “น้ำท่วมทุ่ง” และเมื่อน้ำท่วมพื้นดินในท้องทุ่งก็จะเกิดพืชหลายชนิดที่เหมาะกับสภาพน้ำท่วมขึ้นงอกงามในท้องทุ่งร่วมกับต้นข้าวที่ชาวนาเพาะปลูกเอาไว้
    ในบรรดาพืชที่ขึ้นในน้ำตามธรรมชาตินี้มีผักบุ้งซึ่งเป็นผักยอดนิยมของชาวบ้านขึ้นรวมอยู่ด้วย แทบทุกวันชาวบ้านมักพาย(หรือถ่อ)เรือออกไปในทุ่งเพื่อเก็บผักต่างๆมาประกอบอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผักบุ้งนั่นเอง ดังนั้นชาวไทยในอดีตจึงเลือกผักบุ้งมาใช้ในสำนวน
     น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
    ความหมายของสำนวน  หมายถึงบุคคลที่พูดเยอะ แต่เนื้อหาที่เป็นสาระนั้นมีเพียงน้อยนิด

    ตัวอย่างของสำนวน  คำรบเป็นคนพูดมาก ทุกครั้งที่คุณครูให้เขาออกไปพูดหน้าห้องเรียน คำรบมักพูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรงโดยที่ตามความเป็นจริงแล้วใจความสำคัญของเรื่องมีแค่นิดเดียว แต่เขากลับพูดเป็นครึ่งชั่วโมง

  • You might also like

    No comments:

    Post a Comment